ทำไมช่วงมีประจำเดือนถึงเป็นสิว? ไขข้อสงสัยพร้อมวิธีดูแลให้หน้าห่างไกล “สิวฮอร์โมน”
สำหรับคนมีประจำเดือนแล้ว นอกจากการมีประจำเดือนจะเป็นช่วงที่ร่างกายแปรปรวน ทั้งอาการปวดท้อง อ่อนเพลีย อารมณ์ที่สวิงขึ้นลงง่าย อีกหนึ่งปัญหากวนใจไม่แพ้เรื่องอื่นๆ ก็คือ “สิวฮอร์โมน” หรือ “สิวประจำเดือน” ที่ขึ้นเป็นสัญญาณตั้งแต่ช่วงก่อนจะถึงวันนั้นของเดือน และสำหรับบางคนก็ต้องรับมือกับสิวเหล่านี้ตลอดช่วงที่มีประจำเดือน หรือประมาณ 1-2 สัปดาห์ ยังไม่รวมช่วงเวลาที่ต้องรักษาผิวหน้าจากรอยดำ รอยแดง ที่สิวฮอร์โมนมักจะทิ้งเอาไว้ให้ต้องดูแลอีกนานนับเดือน
“สิวฮอร์โมน” ที่เกิดขึ้นในช่วงมีประจำเดือนนั้น มีสาเหตุคือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเท่านั้นหรือเปล่า? ร่างกายคนเราจำเป็นต้องเป็นสิวช่วงมีประจำเดือนทุกครั้งหรือไม่? เราสามารถดูแลผิวหน้าอย่างไรให้ลดโอกาสการเกิดสิวช่วงที่มีประจำเดือน? เราพาไปรู้จักกับต้นตอของสิวฮอร์โมนหรือสิวประจำเดือน พร้อมวิธีรับมือเมื่อวันนั้นของเดือนมาถึง
สาเหตุของการเกิดสิวฮอร์โมน
หากพูดกันแบบง่ายๆ แน่นอนว่าสิวที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือนย่อมมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย แต่หากจะพูดถึงสาเหตุที่ลึกกว่านั้น สิวฮอร์โมนเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนไป เพราะโดยปกติแล้ว ร่างกายของผู้หญิงรวมไปถึงผู้มีประจำเดือนจะมีระดับสมดุลของฮอร์โมนเพศ เช่น เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นของเพศหญิง และฮอร์โมนแอนโดรเจนของเพศชายอย่างเทสโทสเตอโรน โดยส่วนใหญ่แล้วสิวเกิดจากที่ในช่วงก่อนมีประจำเดือนนั้น ร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนโดยเฉพาะเพศชายออกมามากกว่าปกติจนร่างกายขาดความสมดุล แล้วไปกระตุ้นต่อมไขมันที่อยู่ตามรูขุมขนของเราให้ผลิต “ซีบัม” หรือน้ำมันที่เคลือบบนผิว ทำให้ผิวเกิดการสะสมของแบคทีเรีย เซลล์ผิวหนังที่ตาย จนเกิดการอุดตันและเป็นสิว ในลักษณะที่บวมแดงและอักเสบนั่นเอง
ภาวะอื่นๆ ที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน
แม้ว่าจะสิวจะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจนทำให้เกิดสิวประจำเดือนนั้นเกิดขึ้นกับคนมีประจำเดือนมากถึง 85% ทั้งในกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่จนทำให้สิวฮอร์โมนนั้นแทบจะเป็นเรื่องปกติ ซึ่งนั่นยังไม่รวมสาเหตุอื่นๆ ที่มีผลให้ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดสิวฮอร์โมนตามมา ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ ภาวะหมดประจำเดือน ความผิดปกติของฮอร์โมนและรังไข่ เช่น ภาวะแอนโดรเจนเกิน (Hyperandrogenism) ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome : PCOS) ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมนได้ง่าย และมาพร้อมกับอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ สิวอักเสบรุนแรง มีขนดก เป็นต้น
นอกจากนี้ ในช่วงของการตั้งครรภ์ก็เป็นช่วงเวลาที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงบ่อยและทำให้เกิดสิวฮอร์โมนได้ง่าย และเกิดขึ้นกับ 50% ของคนตั้งครรภ์เลยก็ว่าได้ เพราะฮอร์โมนหลายๆ ตัวมีส่วนต่อการเจริญเติบโตของทารก ทำให้ถึงแม้ว่าจะไม่มีประจำเดือนในช่วงตั้งครรภ์ แต่ร่างกายของคุณแม่ก็ยังต้องผลิตฮอร์โมนเหล่านี้อยู่ โดยในช่วง 3 เดือนแรก และ 3 เดือนสุดท้ายจะเป็นช่วงที่ผิวหน้าของคุณแม่อาจมีสิวอักเสบรุนแรงกว่าช่วงอื่นๆ และจะค่อยๆ เริ่มทุเลาลงหลังจากคลอดลูกแล้ว
ช่วงเวลากับการเกิดสิวฮอร์โมน
ในแต่ละรอบเดือน ตั้งแต่ช่วงมีประจำเดือน หมดประจำเดือน และวนกลับมามีประจำเดือนอีกรอบ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแทบจะตลอดเวลา โดยเราสามารถแบ่งช่วงเวลาการเพิ่มขึ้นและลดลงของฮอร์โมนที่มีผลต่อการเกิดสิวในช่วง 28 วันได้ดังนี้
- ช่วงแรกของการมีประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะต่ำ ในขณะที่ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนคงที่และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ เมื่อถึงช่วงกลาง-ท้ายของการมีประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงขึ้นเล็กน้อย โปรเจสเตอโรนลดลงเล็กน้อย โดยที่ระดับเทสโทสเตอโรนคงที่ ในช่วงระหว่างมีประจำเดือนจะเป็นช่วงที่ผิวแห้ง บอบบาง ระคายเคืองได้ง่าย จึงเป็นอีกช่วงที่อาจเกิดสิวได้ง่ายกว่าปกติ
- ช่วงระหว่าง 1 สัปดาห์หลังจากหมดประจำเดือน เป็นช่วงก่อนตกไข่ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนจะพุ่งสูง โดยเป็นช่วงที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนถูกผลิตมากขึ้นเช่นกัน ในช่วงนี้ผิวหน้าจะดีเพราะฮอร์โมนมีความสมดุล และเอสโตรเจนจะช่วยผลิตคอลลาเจนที่ทำให้ผิวเปล่งปลั่ง
- ช่วงตกไข่ หรือประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะพุ่งถึงจุดสูงสุด ซึ่งจะไปลดการเกิดซีบัมบนผิวหน้า ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ผิวหน้าดีและแข็งแรงมากที่สุด เหมาะกับการลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยหากใครเป็นสิวในช่วงนี้อาจคาดการณ์ได้ว่ามีภาวะผิดปกติอื่นๆ ที่ทำให้ฮอร์โมนเกิดความไม่สมดุล
- ช่วงก่อนมีประจำเดือน 1 สัปดาห์ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะพุ่งถึงจุดสูงสุดแล้วลดลงอย่างรวดเร็ว และเมื่อถึงจุดที่โปรเจสเตอโรนกับเอสโตรเจนลดลงพร้อมกัน แม้ว่าเทสโทสเตอโรนในร่างกายจะสูงขึ้นไม่มาก ก็สามารถทำให้เกิดความไม่สมดุล และไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันหลังซีบัมหรือน้ำมันบนผิวมากขึ้น ที่ทำให้เกิดการอุดตันและสิวฮอร์โมนตามมาได้
“สิวฮอร์โมน” รักษาให้หายขาดยาก แต่เรารับมือได้
เพราะสิวฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเดือน และมีหลายสาเหตุที่ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนช่วงก่อนและระหว่างมีประจำเดือนเท่านั้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะดูแลผิวหน้าจากสิวฮอร์โมนก็คือการสร้างเกราะป้องกันที่แข็งแรงให้กับในช่วงที่ผิวอ่อนแอระหว่างมีประจำเดือน และดูแลรักษาความสะอาดในช่วงที่ผิวกำลังเสี่ยงต่อการอุดตันและเกิดสิว
โดยในช่วงเวลาก่อนและระหว่างมีประจำเดือน เราขอแนะนำให้ดูแลผิวหน้าให้สะอาดอย่างอ่อนโยนด้วย SKINPRO Rx Acne X Cleansing Gel คลีนซิ่งที่มีคุณสมบัติในการขจัดสิ่งสดปรก อุดตัน มีสารสกัดจากเปลือกแอสเพน (Aspen Bark Extract) ที่ช่วยลดโอกาสการเกิดสิว และช่วยรักษาสมดุลให้ผิวในช่วงที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดความมันส่วนเกิน โดยใช้ควบคู่กับ SKINPRO Rx Acne X Spot Gel เจลแต้มสิวที่ช่วยบรรเทาการอักเสบของสิว โดยเฉพาะสิวฮอร์โมนที่มักมีอาการบวมแดง รวมทั้งมี Anti-Acne Peptide ที่ช่วยลดการเกิดสิวจากแบคทีเรียที่มักสะสมในช่วงสัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนได้อีกด้วย
นอกจากการดูแลด้วยผลิตภัณฑ์สกินแคร์ที่อ่อนโยนต่อผิวในช่วงมีประจำเดือนแล้ว อีกสิ่งสำคัญการสังเกตผิวหน้าของตัวเองตลอดทั้งรอบเดือนร่วมด้วยว่าเกิดสิวฮอร์โมนที่มากกว่าในช่วงปกติของการมีประจำเดือนแล้วหรือไม่ หรือหากมีอาการผิดปกติอื่นๆ นอกจากสิวแล้วก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
Reference
https://theunrefined.com.au/blogs/blog/what-your-hormones-skin-are-doing-at-each-phase-of-your-cycle